ความถี่อื่น ๆ ของ ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล

  • วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชน (Citizens band radio: CB) (ไม่มีใช้งานในทุกประเทศ)
    • เหตุฉุกเฉิน ช่อง 9 (27.065 MHz AM) และช่อง 19 (27.185 MHz AM)
  • บริการวิทยุคมนาคมเคลื่อนที่ทั่วไป (GMRS) :
    • 462.675 MHz คือความถี่วิทยุในการเรียกขานเพื่อแจ้งเหตุประสบภัยและข้อมูลการจราจรบนถนนที่จัดสรรให้กับบริการวิทยุคมนาคมเคลื่อนที่ทั่วไป (General Mobile Radio Service: GMRS) และใช้งานทั่วทั้งอลาสกาและแคนาดาเพื่อสื่อสารในกรณีฉุกเฉิน บางครั้งเรียกว่า "จุดส้ม" (Orange Dot) เนื่องจากบางผู้ผลิตเชื่อมโยงความถี่ที่ใช้กับรหัสสีเพื่อความสะดวกในการใช้ช่องสัญญาณ จนกระทั่งมีการสร้างบริการวิทยุครอบครัว (Family Radio Service: FRS) ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2539 "GMRS 675" หรือ ช่อง 6/20 บนเครื่องวิทยุแบบเคลื่อนที่ในปัจจุบัน ความถี่ของช่องแต่ละช่องอ่าจจะแตกต่างกัน ตั้งแต่ 12.5, 25 และ 50 kHz และยังได้รับการจัดสรรให้กับช่อง 20 บนวิทยุ 22 ช่องชื่อว่า "blister pack" มันสามารถทวนสัญญาณจากช่องรับเข้า 467.675 MHz และมีความถี่โทนที่ 141.3 Hz หลังจาก FCC ยกเลิกการควบคุมการใช้งานวิทยุ FRS/GMRS แบบซิมเพล็กซ์ ผู้ใช้วิทยุ FRS อาจจะออกอากาศได้สูงสุดที่ 2 วัตต์บนช่องฉุกเฉินของระบบ GMRS ช่อง 20 (462.675 MHz) เข้ารหัส 141.3 Hz CTCSS, หรือช่อง 20-22
  • บริการวิทยุใช้งานอเนกประสงค์ (Multi-Use Radio Service: MURS) : มีเฉพาะใน สหรัฐเท่านั้น
    • 151.940 MHz
  • บริการวิทยุครอบครัว (Family Radio Service: FRS) มีเฉพาะใน สหรัฐเท่านั้น
    • ช่อง 1: 462.5625 MHz (carrier squelch, ไม่ใส่โทนหรือช่องย่อย)
    • ช่อง 3: 462.6125 MHz[15] และช่อง 20: 462.6750 MHz (141.3 Hz CTCSS - ช่อง 20, หรัส 22 หรือช่อง 20-22)
  • คลื่นความถี่ภาคประชาชน ย่านยูเอชเอฟ (UHF CB) : มีเฉพาะใน ออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์เท่านั้น
    • เหตุฉุกเฉิน ช่อง 5/35 (476.525/477.275 MHz)[16] ช่อง 5 เป็นช่องฉุกเฉินแบบซิมเพล็กซ์และทวนสัญญาณออกอากาศที่ช่องฉุกเฉิน ในขณะที่ช่อง 35 ใช้สำหรับทวนสัญญาณรับเข้าสำหรับแบบดูเพล็กซ์ UHF CB
  • วิทยุเคลื่อนที่ส่วนบุคคล 446 MHz (Private Mobile Radio 446 MHz: PMR446) : ใช้งานใน สหภาพยุโรป
    • ช่อง 1 ระบบแอนะล็อก (446.00625 MHz, CTCSS 100.0 Hz, ช่อง 1/12)
    • ช่อง 8 ระแบบแอนะล็อก (446.09375 MHz, CTCSS 123.0 Hz, ช่อง 8/18)
  • วิทยุเคลื่อนที่ส่วนบุคคล 446 MHz (Private Mobile Radio 446 MHz: PMR446) : ใช้งานใน สหภาพยุโรป
    • หน่วยกู้ภัยภูเขา ช่อง 7 ระบบแอนะล็อก (446.08125 MHz), CTCSS 85.4 Hz (ช่อง 7/7 ในวิทยุส่วนใหญ่)
  • วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชน CB245: ย่านวีเอชเอฟ มีเฉพาะใน ไทย
    • ช่อง 1 (245.0000 MHz)
    • ช่อง 41 (245.5000 MHz)
  • วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชน CB78: ย่านวีเอชเอฟช่วงล่าง มีเฉพาะใน ไทย
    • ช่อง 41 (78.5000 MHz)

ใกล้เคียง

ความถูกต้องทางการเมือง ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล ความถี่ ความถ่วงจำเพาะ ความถี่เชิงมุม ความถี่วิทยุ ความถี่เชิงพื้นที่ ความถี่มูลฐาน ความถี่เสียงเปียโน ความถนัดซ้าย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล http://www.piersystem.com/go/doc/586/251135/ http://www.piersystem.com/go/doc/780/248571/ http://www.uscg.mil/d13/cfvs/Distress.asp http://www.navcen.uscg.gov/?pageName=cgcommsCall https://www.itu.int/rec/R-REC-M.541/en http://www.arrl.org/band-plan https://web.archive.org/web/20180920154308/http://... http://www.iaru.org/uploads/1/3/0/7/13073366/emcom... https://web.archive.org/web/20181114063432/http://... http://www.iaru.org/uploads/1/3/0/7/13073366/emerg...